บริการด่วน!ติดตั้งถึงบ้านทั่วกรุงเทพปริมณฑล ต่างจังหวัดส่งไปรษณีย์
จำนวนคนเข้าเว็บ [website statistics ]    หน้าหลัก | บัญชีโอนเงิน | แผนที่ติดต่อ | Email : info@makerace.com






Free Service










OEM Accord Navigator 29,900-

Pioneer AVH X 1550DVD 8,900-

Alpine CDE 121E เพียง 5,500-

 ชุด Front stage ครบชุดเพียง 9,990-






แนะนำของแต่งมาใหม่
ศูนยรวมอุปกรณ์ตกแต่ง
chevrolet cruze

 
ไฟเดย์ไลท์ 7 สี STEP เทพ
มีรีโมทคอนโทล
Daylight เริ่มต้นเพียง 1,990-
 
ไฟโลโก้  เพิ่ม 2 STEP ได้
เพียง 950-
 
ไฟ Projector หน้ารถยนต์+ซีน่อน
สว่างมากๆ ไม่แยงตา
เพียง 6,900-
 
ศูนยรวมอุปกรณ์ตกแต่ง
Chevrolet Captiva
 
กรอบป้ายทะเบียนเรืองแสง
ราคา 1,890-
 
ปลายท่อไอเสียมีไฟ / 2 Step
ราคา 2,990-
 
ปลายท่อไอเสียมีไฟ / 2 Step
ราคา 3,990-
 
ไฟส่องพื้น ส่องเท้า และตามจุดต่างๆ
ราคา 950-
 
หลังคาแก้ว ดำด้าน เคฟล่า
 
ไฟโลโก้ 3 มิติ
 
 



บริการติดตั้งนอกสถานที่ ติดตั้งถึงบ้าน กรุงเทพและปริมณฑล ต่างจังหวัดส่งไปรษณีย์

(( มาตรวัดค่าต่างๆ ))
  มาตรวัดบูสต์ (BOOTS METER)
มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบทุกคันที่มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของ แวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก และในส่วนของ เทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่สำหรับการดูค่าอัตรา บูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็น การเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง หรือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะของวาล์วเป็นต้น นอกจากนี้หาก บนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากที่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหา ขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับ มาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ
 
  มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)
สำหรับมาตรวัดความร้อน ตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็น มาตรฐานอยู่แล้ว แต่ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของความร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียดมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น นั่นหมาย ความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก ทว่าถ้าเป็นในรถธรรมดา อาจจะยังไม่ก่อปัญหามากนัก ขณะที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เรื่องปัญหาความ ร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้เลยทีเดียว โดยปกติ เซ็นเซอร์ ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้น ก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำ ได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการ เหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน
   
  มาตรวัดรอบ (TACHO METER) RPM
สำหรับมาตรวัดรอบ ก็เหมือนกับมาตรวัดความร้อน คือรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งมา ให้จากโรงงานอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่มีบางคนต้องไปติดเพิ่มอาจจะมาจากเหตุผลต่างกันไป บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสร้างความสวยงาม หรือความเท่ แต่กับบางคนอาจ จะเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ อย่างรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเปลี่ยนไปใช้แคมฯ องศาสูงมาก ๆ จนทำให้สามารถเร่งรอบได้มากกว่าเดิม ซึ่งวัดรอบที่มีติดมากับรถ ไม่สามารถแสดงข้อมูล ได้เพียงพอ จึงต้องหาอันใหม่มาติดเข้าไป หรือในรถยนต์ที่ทำขึ้นมาสำหรับการแข่งขัน ควอเตอร์ไมล์ซึ่งจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องการให้ความสำคัญมาก การตัดสิน แพ้ชนะอยู่ที่เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ดังนั้นมาตรวัดรอบที่มาพร้อมไฟเตือน จึงกลายเป็น อุปกรณ์ช่วยได้อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามการแพ้ชนะไม่ได้เพียงอุปกรณ์ที่ว่าเท่านั้น จังหวะ ฝีมือ สมาธิ ในการเปลี่ยนเกียร์ของผู้ขับขี่เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า
   
  มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)
อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์ โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็ม ประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลาย สภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ ไปในแนวทางเดียวกับ อุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของ น้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิของ น้ำมันเครื่องให้อยู่ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วย รักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป
   
  มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)
มาตรวัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ น้ำมันเครื่อง โดยค่า ที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆหรือขณะที่เครื่องยนต์ มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอม ให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลง การสึกหรอ จนถึงการ ระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการ ตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอก ข้อมูลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า “แรงดันต่ำ” จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหล เข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า “แรงดันสูง” จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ
3 – 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2
   
  มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER)
อุณหภูมิของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำมัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน
   
  มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)
สำหรับมาตรวัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่ง แล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เราออกแรงกดลงไปบนคันเร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้ รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊ม น้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติด เครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดันนี้จะขึ้นไปตาม อัตราการบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์
ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊ม น้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดที่ใช้ไม่เพียงพอ เสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็น ไม่น้อยสำหรับรถยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่
   
  มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER)
มาตรวัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะ ต้องมีค่าเท่ากับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่ง เนื่องจากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น “บาง” กับ “หนา” ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับ ในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับ อย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อ เพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ
   
 

แวคคั่ม มิเตอร์ (VACUUM METER)
มาตรวัด VACUUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์ เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ใน การเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลา เครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสุญญากาศ ถ้าค่าสุญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่อง ยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์ เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 300 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์ มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg

ข้อมูลจาก

http://www.maipaimairoo.com/?p=354

เกจ์วัด รถยนต์ทุกรุ่น

ติดตั้งเริ่มต้น 1,990 บาท เท่านั้น
บริการหล่อเสาหน้าราคาถูก
นอกสถานที่ค่าบริการเริ่มต้น 200 บาท*
ขายส่ง 3 ชุดขึ้นไป บริการจัดส่งทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด ค่าจัดส่งทั่วประเทศ 100 บาท*
  • เสริมภายในรถคุณให้สวยสปอร์ทขึ้น
  • สินค้าคุณภาพมีใบรับประกัน


ติดตั้งได้ทุกรุ่น

ALFA ROMEO


AUDI

AUSTIN [MINI]

BENTLEY

BMW

VOLVO


SKODA

CHEVROLET


CHRYSLER

CITROEN

DAEWOO

DAIHATSU

VOLKSWAGEN


SEAT


DODGE


FERRARI


FIAT


FORD


HOLDEN

TOYOTA


SAAB


HONDA


HYUNDAI


ISUZU


JAGUAR


JEEP

SUZUKI


ROVER


KIA


LAMBORGHINI


LAND ROVER


LEXUS


MASERATI

SUBARU


ROLLS-ROYCE


MAZDA


MERCEDES-BENZ


MG


MITSUBISHI


NISSAN


SSANGYONG
 


OPEL


PEUGEOT


PONTIAC


PORSCHE


PROTON

SMART
 

 

www.makerace.com Copyright © 2008 makerace.com All rights reserved 
Makerace.com หน้าซอย 19 ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพ 10800 
office : 02-913-6821 Email : info@makerace.com